วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 5 มาตรฐานการเชื่อมต่อและสถาปัตยกรรมเครือข่าย


1. OSI (Open Systems Interconnect) Model

          เป็นแบบจำลอง ที่อธิบายถึงโครงสร้างการทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ ที่มีหน้าที่ต่างๆ กัน โดยได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นในปี 1984 โดย Open Systems Interconnect


ภาพ OSI (Open Systems Interconnect) Model

2. Physical Layer

          เป็นเลเยอร์ล่างสุดสำหรับจัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และกลไกการทำงานในการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย


ภาพ Physical Layer

3. Data Link Layer

          เป็นเลเยอร์สำหรับการจัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครือข่าย และตรวจสอบความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นใน Physical Layer


ภาพ Data Link Layer

4. Network Layer

          เป็นเลเยอร์ที่จัดเตรียมหน้าที่ และกระบวนการในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางภายในเครือข่าย

ภาพ Network Layer

5. Transport Layer

          เป็นเลเยอร์ที่ทำหน้าที่จัดเตรียมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน จัดเตรียมข้อมูลที่เชื่อถือได้ให้กับเลเยอร์ถัดไป


ภาพ Transport Layer

6. Session Layer

          เป็นเลเยอร์ที่ควบคุมเซสชั่น (Session) การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จัดการการสื่อสารระหว่างกัน ทั้งแบบ Full-duplex, Half-duplex และ Simplex


ภาพ Session Layer

7. Presentation Layer

          เป็นเลเยอร์สำหรับจัดเตรียมการรับและจัดโครงสร้างของข้อมูล เพื่อส่งต่อให้เลเยอร์ถัดไป โดยอาจมีการแปลข้อความที่ได้เป็นโค้ด หรือมีการเข้ารหัส/ถอดรหัสข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ


ภาพ Presentation Layer

8. Application Layer

          เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นการจัดเตรียมแอพพลิเคชั่นไว้ให้คอยบริการใช้งาน รูปแบบต่างๆ บนเครือข่าย


ภาพ Application Layer

9. IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)

          เป็นองค์กรสากลที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการประกาศมาตรฐานต่างๆ ไว้มากกว่า 900 มาตรฐาน


ภาพ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) 


บทที่ 4 ประเภทของเครือข่าย


1. LAN (Local Area Network)

             เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN) เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือ เกือบทุกๆ เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่ายแบบ LAN อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มีคอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณ ไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อน เช่น มีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยๆ เครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอีกมาก


ภาพ LAN (Local Area Network)

2. MAN (Metropolitan Area Network)

          เครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Network: MAN) เครือข่ายแมนเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กว่าเครือข่ายแลน เป็นเครือข่ายในเขตเมืองครอบคลุมพื้นที่ในอำเภอหรือจังหวัดเดียวกัน โดยอาจเป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของ
องค์กรเข้าด้วยกัน เช่น การต่อคอมพิวเตอร์ของสาขาต่างๆ ในเขตเมืองเพื่อสื่อสารข้อมูลระหว่างองค์กร


ภาพ MAN (Metropolitan Area Network)

3. WAN (Wild Area Network)
        
         เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network: WAN)เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน


ภาพ WAN (Wild Area Network)

4. Peer to Peer Network

          เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถ
แบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้ เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน


ภาพ Peer to Peer Network

5. Client/Server Network

          เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือนๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่างๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ


ภาพ Client/Server Network

6. Internet

          เครือข่ายสาธารณะหรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้ 


ภาพ Internet

7. Intranet

          เครือข่ายส่วนบุคคลหรืออินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ต


ภาพ Intranet

8. Extranet

          เครือข่ายร่วม หรือเอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน


ภาพ Extranet

9. File Server

          File Server เป็นประเภทหนึ่งของเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการต่างๆ ลักษณะการทำงานแบบนี้ เซิร์ฟเวอร์จะเป็นผู้จัดการระบบ
ไฟล์บนดิสก์ในเครื่องของตนเอง


10. Database Server

          Database Server เป็นประเภทหนึ่งของเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการต่างๆ เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server


บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล



1. DTE (Data Terminal Equipment)

          เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

2. DCE (Data Communication Equipment)

          เป็นอุปกรณ์ในการรับ/ส่งข้อมูล เช่น โมเด็ม จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม Fibrotic Infrared Wireless เป็นต้น

3. Baseband

          จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่สายสัญญาณหรือตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณในเวลาขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นั่นคือ อุปกรณ์ที่ใช้งานสายสัญญาณในขณะนั้นจะครอบครองช่องสัญญาณทั้งหมดโดยอุปกรณ์อื่นจะไม่สามารถร่วมใช้งานได้เลย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ระบบโทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเป็นการสื่อสารแบบ Baseband รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่น ๆ(เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ) การสื่อสารผ่าน modems และการสื่อสารผ่านเครือข่ายหลักๆ ด้วย ยกเว้นเครือข่ายแบบ B-ISDN ที่เป็นแบบ Broadband


ภาพ Baseband (ที่มา : http://iteiei.blogspot.com)

4. Broadband

          เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณสามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อม ๆ กันโดยใช้วิธีแบ่งช่องความถี่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถสื่อสารกันโดยใช้ช่องความถี่ของตนเองผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Cable TV ซึ่งสามารถส่งสัญญาณมาพร้อมกันหลาย ๆ ช่องบนสายสื่อสารเส้นเดียว และผู้รับก็สามารถเลือกช่องความถี่ที่ต้องการชมได้ เป็นต้น


ภาพ Broadband (ที่มา : http://iteiei.blogspot.com)

5. Cellular Radio

          ลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ และยังไม่รวมถึงการแพร่บนระยะทางสั้นๆ


ภาพ Cellular Radio

6. Microwave

          คลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ (สถานี) ส่ง-รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่งแต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30 - 50 กม.


ภาพ Microwave
7. Satellite
สัญญาณดาวเทียมเป็นลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัปลิงค์" และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณ ดาวน์ลิงค์"


ภาพ Satellite

8. Bluetooth
       
          ลักษณะของบลูทูธเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1998 ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูล 2.5 GHz. สื่อสารได้ในระยะทางไม่เกิน 10 เมตร สื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์ได้


ภาพ Bluetooth

9. Infrared
    
          ลักษณะของแสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นไมโครเวฟตรงที่การส่งสัญญาณเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตาเหมือนกัน คลื่นอินฟราเรดนิยมนำมาใช้งานสำหรับการสื่อสารระยะใกล้ โดยมีอุปกรณ์หลายชิ้นในปัจจุบัน เช่น รีโมตคอนโทรล คอมพิวเตอร์ และรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ และกล้องดิจิทัล


ภาพ Infrared

10. Wireless

          ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน


ภาพ Wireless



บทที่ 2 องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์


1. NIC (Network Interface Card)

NIC (Network Interface Card) หรือบางทีเรียกว่า แลนการ์ด (LAN Card) อุปกรณ์นี้ใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้


ภาพ NIC (Network Interface Card)

2. Coaxial Cable

สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) มีลักษณะคล้ายกับสายเคเบิลทีวี คือ มีแกนเป็นทองแดงห่อหุ้มด้วยฉนวน แล้วหุ้มด้วยตาข่ายโลหะ ชั้นนอกสุดเป็นวัสดุป้องกันสายสัญญาณ สายประเภทนี้นิยมใช้มากในเครือข่ายสมัยแรกๆ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เปลี่ยนเป็นการใช้สายคู่เกลียวบิดแทน


ภาพ Coaxial Cable


3. Twisted Pairs

สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) เป็นสายสัญญาณมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุดในระบบเครือข่ายปัจจุบัน สายสัญญาณจะประกอบด้วยสายทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวน 2 เส้นแล้วบิดเป็นเกลียว เหตุที่บิดเป็นเกลียวก็เพื่อลดสัญญาณรบกวนนั่นเอง สายสัญญาณนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภท ซึ่งแบ่งตามคุณภาพของสายสัญญาณ ได้แก่ สายสัญญาณโทรศัพท์ที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งจะมีสายทองแดงทั้งหมด 2 คู่ ส่วนหัวที่ใช้ต่อสายนี้จะเรียกว่า หัว RJ-11 ส่วนสายคู่บดเกลียวที่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต คือ สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์ แต่มีคุณภาพดีกว่า โดยมีสายทองแดงทั้งหมด 4 คู่ ส่วนหัวเชื่อมต่อจะเรียกว่า หัว RJ-45


ภาพ Twisted Pairs


4. Fiber Optic

สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นสายที่ใช้แสงเป็นสัญญาณ และแก้วหรือพลาสติกใสเป็นสื่อนำสัญญาณ ในขณะที่สายคู่เกลียวบิดและสายโคแอ็กเชียลใช้สัญญาณไฟฟ้าและโลหะเป็นสื่อ ข้อเสียของสายสัญญาณประเภทโลหะคือ จะถูกรบกวนจากแหล่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ ได้ง่าย เช่น ฟ้าผ่ามอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น แต่สายใยแก้วนำแสงใช้สัญญาณแสง ดังนั้นจึงไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จึงทำให้สายใยแก้วนาแสงสามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราสูงและระยะไกลกว่า แต่การผลิต การติดตั้งและดูแลรักษาจะยุ่งยาก และราคาแพงกว่าสายที่เป็นโลหะ ดังนั้นสายใยแก้วนาแสงจึงเหมาะสาหรับลิงค์ที่ต้องการแบนด์วิธสูง และมีความเชื่อถือได้สูง และสาหรับการส่งข้อมูลระยะไกล เช่น ลิงค์หลัก (Backbone) ของระบบเครือข่าย

ภาพ Fiber Optic

5. Hub

ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องจำนวนมากเข้าด้วยกันในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยที่ฮับจะมีพอร์ต (Port) หรือช่องสำหรับต่อสาย RJ-45 เข้ามาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการกระจายข้อมูล ไปยังเครื่องอื่นๆ

ภาพ Hub


6. Switch

สวิตช์เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายลักษณะเดียวกับฮับและมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่วงจรการทำงานภายในจะใช้หลักการของวงจรสวิตชิ่งที่สลับการส่งข้อมูลในแต่ละพอร์ตไปมา ไม่ได้แบ่งช่องทางการส่งผ่านข้อมูลเหมือนฮับจึงทำให้แต่ละพอร์ต มีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่าฮับ


ภาพ Switch


7. Repeater

รีพีตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิล 2 เส้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย จากนั้นสัญญาณข้อมูลจะถูกดูดกลืนไปตามสายทำให้สัญญาณข้อมูลอ่อนลง หากต้องการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายออกไปไกลเกินกว่าสายสัญญาณที่ใช้จะรองรับได้จะต้องใช้รีพีตเตอร์ช่วยในการขยายสัญญาณข้อมูล


ภาพ Repeater


8. Bridge

บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่งข้อมูลแบบแพร่กระจาย ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่ายบริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป


ภาพ Bridge


9. Router

เราท์เตอร์เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายซึ่งทำหน้าที่เสมือนสะพานสำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่น หรือระบบเครือข่าย LAN (Local Area Network) เข้ากับระบบเครือข่าย WAN (Wide Area Network) ขนาดใหญ่เมื่อเครือข่าย LAN ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยใช้เราท์เตอร์ เครือข่าย LAN แต่ละฝั่งจะยังคงมีเครือข่ายที่เป็นของตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายของอีกฝั่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการเครือข่ายภายใน


ภาพ Router


10. Gateway

เกตเวย์เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อนมากกว่าเราท์เตอร์หรือบริดจ์ เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลใน Data link และ Network Layer ที่แตกต่างกันได้มากกว่า 2 ระบบสามารถเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง หรือเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลในโปรแกรมประยุกต์ได้


ภาพ Gateway


11. Protocol

โปรโตคอล (Protocol) เป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรืออาจกล่าวได้ว่า โปรโตคอลเป็น ภาษา ที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกัน ดังนั้นคอมพิวเตอร์ที่ต้องการสื่อสารกันจำเป็นที่ต้องใช้ ภาษา หรือโปรโตคอลเดียวกัน เพราะไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะสื่อสารกันไม่ได้ ปัจจุบันโปรโตคอลที่นิยมใช้มากที่สุดคือโปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control/ Internet Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก


ภาพ Protocol


12. NOS (Network Operating System)

ระบบปฏิบัติการหรือ OS ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ก็จะรันโปรแกรมต่างๆ ไม่ได้ ระบบเครือข่ายก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS เพื่อทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย และการเข้าใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ฐานข้อมูล เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 1 ความหมายของระบบเครือข่าย

1. Computer Network 
       
          ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ระบบเครือข่าย(Network) ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่มีความสามารถติดต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้การติดต่อจะผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่นๆได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น
     ภาพ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ที่มา: http://www.cotron.co.th) 

2. Personal Computer 

          Personal Computer หรือ PC (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) หรือ ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือแบบพก ที่ขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) PC ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้ 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) 2. ซอฟต์แวร์ (Software) 3.อุปกรณ์รับ-แสดงผลข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ , จอภาพ , เครื่องพิมพ์ , ลำโพง ฯลฯ 

  ภาพ Personal Computer (ที่มา : http://seethecomputer.blogspot.com) 

3. Resource 

          คือความสามารถในการใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีราคาสูงร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk),ปริ๊นเตอร์ (Printer) เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hard ware) เป็นอีกหนึ่งประโยชน์ของระบบเครือข่าย 

4. Wide Area Network (WAN)

          แวน หรือ เครือข่ายบริเวณกว้าง คือเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลกันมากอาจจะอยู่ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่ห่างกันไกล อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกันติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ 

ภาพ Wide Area Network (ที่มา : http://www.thaiblogonline.com) 

5. Local Area Network (LAN)

          เครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่น เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร ทีอยู่ในท้องถิ่นที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคารหรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนจัดได้ว่าเป็นเครือข่ายเฉพาะขององค์การ การสร้างเครือข่ายแลนนี้องค์การ สามารถดำเนินการทำเองได้โดยวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้อง เดียวกันจนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรือองค์การขนาดใหญ่ เช่นมหาวิทยาลัยมีการวางเครือข่ายที่เชื่อมโยง ระหว่างอาคารภายในมหาวิทยาลัย เป็นต้น 

ภาพ Local Area Network (ที่มา : http://53011311234.blogspot.com) 

6. Metropolitan Area Network (MAN) 

          เครือข่ายในเขตเมือง (Metropolitan Area Network : MAN ) เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมากจึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูงเนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล 

ภาพ Metropolitan Area Network (ที่มา : http://sawi.ac.th) 

7. Gateway 

          เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น 

ภาพ เกตเวย์เชื่อม PC กับ MAC (ที่มา : http://www.tanti.ac.th) 

8. Maintenance 

          คือการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ปลอดภัยจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น 

9. Per User License 

          Per User License หมายถึง Software ที่จะต้องระบุจำนวน User ลงไปเลยว่าต้องการใช้เท่าใด แต่ในการทำงานจริง ๆ แล้วจะใช้กี่คนพร้อมกันก็ได้ ปัญหาที่เกิดขึ้นแน่นอนสำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แยกกันก็คือ ในกรณีที่เราต้องการข้อมูลของคอมพิวเตอร์ (PC) เครื่องหนึ่ง จะต้อง Copy ลงในแผ่น Disk แล้วนำไปเรียกใช้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) อีกเครื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าข้อมูลนั้นมีขนาดใหญ่หรือต้องการข้อมูลร่วมกันบ่อย ๆ จะทำให้เสียเวลาในการ Copy ข้อมูลมาก ถ้านำระบบ Network มาใช้งานข้อมูล User แต่ละคนจะถูกเก็บไว้ในที่เดียวกันก็คือ Harddisk ของ File Server ดังนั้น User แต่ละคนจะสามารถใช้ข้อมูลซึ่งกันและกันได้ทันที แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิ์ในการเรียกใช้ข้อมูลของแต่ละ User ซึ่งจะสามารถกำหนดไว้ว่า User คนใดจะสามารถใช้งานข้อมูลได้ถึงระดับใดบ้าง 

10. Schedule หรือ Group Calendar 

          Schedule หรือ Group Calendar เป็นโปรแกรมที่รวบรวมปฏิทินรายวันของ User แต่ละคนมารวมกันเป็นตาราง (Schedule) ของทั้งระบบ ทำให้ผู้จัดการระบบสามารถทราบนัดหมายต่าง ๆ ของ User แต่ละคนได้ และวางแผนการได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น WordPerfect Office เป็นต้น